Journey, South America
Comment 1

The Lost City of Peru

เปรู ประเทศที่นักเดินทางรู้จักกันดี หลายล้านคนมาที่นี่เพื่อมาเยือน มาชูปิกชู หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก อืม เราก็อยากไปเหมือนกัน แต่สิ่งที่ดึงดูดเรามากกว่าเมืองโบราณนั้นคือเมืองกลางทะเลทราย และ เปรูมีโอเอซิส!

Peru

เปรู เป็นประเทศที่มีภูมิอากาศหลากหลาย ร้อนทะเลทราย ฝนป่าamazon หนาวเทือกเขาแอนดีส นอกจากต้องเตรียมเสื้อผ้ากันร้อน กันหนาว กันฝนแล้ว ยังต้องฉีดวัคซีนกันโรคด้วยหลักๆคือไข้เหลือง ไทฟอยด์ ไข้หวัดใหญ่ และก็กินยากันมาลาเลียไว้ แต่ถ้าใครไม่เข้าป่าamazon โรคเยอะเกินไม่ไหวไปแค่มาชูปิกชูพอ ก็เตรียมแค่ยาแก้แพ้ความสูงไป เผื่อไว้ก่อน เด๋วป่วยแล้วจะเที่ยวไม่สนุก

เราเริ่มเดินทางที่เมือง lima เป็นเมืองหลวงของเปรู โดยค่อยๆเที่ยวไล่ทีละเมือง เป็นเวลา 3 อาทิตย์ ให้ร่างกายค่อยๆปรับสภาพก่อนขึ้นที่สูง ไปจบที่เมือง Puno เป็นเมืองสุดท้ายของเปรู

10258932_784811958253661_7644042135823218665_o

ส่วนใครที่จะฉีดแค่ไข้เหลืองเพื่อเอาไว้ขอวีซ่าโบลิเวีย แนะนำให้มาฉีดฟรีที่ Hospital Arzobispo Loayza โรงบาลใจกลางเมืองในลิม่า ฟรีทุกวันอังคารก่อนเที่ยง ไข้เหลืองภาษาสเปนคือ La fiebre amarilla ประเทศนี้ไม่มีใครพูดอังกฤษ โหลดดิกภาษาสเปนมาเก็บไว้ในมือถือนะ ช่วยได้มาก ถ้าพูดไม่ได้ก็เขียนเอา

ถ้าไม่สะดวกวันอังคาร โรงบาลอื่นก็มีสลับกันไปจันถึงศุกร์ แต่ถ้าโรงบาลอื่นบางเดือนจะไม่มี เชคตารางฉีดของที่อื่นได้ที่หน้าห้องฉีดวัคซีนของโรงบาล Loayza เนี่ยแหละ

ทางไปฉีดฟรีตามรูปเลย ตึก 7 เดินขึ้นไปชั้น 2 นะ :)

10872917_789330817801775_5074550762768914646_o

เราอยู่ที่ลิม่า 4 วัน เดินเล่นไปเรื่อย เมืองนี้ฝนไม่ตกแต่มีหมอกปกคลุมตลอดเวลา วันๆตื่นมาไม่เคยได้เห็นพระอาทิตย์เลย ก่อนออกจากเมืองแวะไปดูทะเลสักหน่อย ไม่เคยคิดเลยว่าทะเลอีกฝั่งนึงของมหาสมุทรแปซิฟิกจะดูหมองขนาดนี้

10931615_789338447801012_1159922581777723684_o

หารถบัสนั่งไปเมือง Paracus แต่แพง เลยไปลงเมือง Ica แล้วค่อยต่อนั่งรถตู้ ไป Paracas เพื่อต่อเรือไปเกาะ Ballestas อีกที เกาะนี้มีอีกชื่อว่า Poor galapagos กาลาปากอสสำหรับคนจน ใครไม่มีเงินนั่งเครื่องไปกาลาปากอสก็มาที่นี่ละกัน เป็นเกาะร้างที่มีเพนกวิน สิงโตทะเล ปลาโลมา นกทะเลต่างๆเต็มไปหมด เยอะจนบางทีก็แอบกลัว

10953981_789346477800209_9103105051777768905_o

อากาศที่นี่หนาว นั่งเรือลมตีอีก เตรียมเสื้อกันลมมาด้วยไม่งั้นมีป่วย
เกาะนี้แต่ก่อนเคยมีคนอาศัยอยู่ เพราะเป็นแหล่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของเปรู คือ white gold หรือ ขี้นก นี่เอง :D

10931582_789350974466426_5858047183686985965_o

10830491_789354534466070_5104681868355036621_o

นั่งรถตู้กลับ ไปอีกเมืองต่อ Haucachina อ่านว่า “วากาชิน่า” เป็นเมืองที่อยู่หลังแบงค์ 50 ของเปรู หรือรู้จักกันในชื่อของ “The Oasis of America” เป็นโอเอซิสที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหนึ่งเดียวในทวีปนี้ พอเริ่มดังคนเลยมาสร้างเมือง สร้างโรงแรมกันที่นี่ ตอนนี้เป็นเมืองท่องเที่ยวไปแล้ว มีถนนตัดเข้าไปในโอเอซิสเลย

10317759_789363381131852_7692370621517374740_o

เดินออกมาจากเมืองหน่อย เจอโอเอซิสบริสุทธิ์ ไม่มีคน ไม่มีเมือง.. นี่แหละสิ่งที่อยากเห็น!

10712601_789387914462732_7312503025437498860_o

เดินไต่ยอดทะเลทรายไปเรื่อย ไม่รู้สึกเหนื่อยเลย วิวที่เห็นมันกลืนความเหนื่อยไปหมด เดินๆไปทรายเข้ารองเท้าเริ่มเยอะต้องคอยเคาะออก อีกมือถ่ายรูป อีกมือเคาะรองเท้า สุดท้ายเสียหลักตกจากสันลงไปในทราย ข้าวของกระจัดกระจาย นอนนิ่งอยู่สักพัก.. ชายแปลกหน้าคนนี้เป็นคนยื่นมือช่วยดึงเราขึ้นมา เก็บของ ให้น้ำดื่ม :)

ขอบคุณในความใจดี

1960763_789804937754363_6656779758996380061_o

วันต่อมาเอาใหม่ ไม่พกของรุงรังแล้ว ไปแต่ตัว ออกไปเล่น sandboarding! เนินทรายที่นี่สูงสะใจดี แม้จะเซ็งเวลาทรายเข้าปาก แต่สนุกมาก ห้ามพลาด!

10557496_789811184420405_6737650158840215889_o

บนนี้ นอกจากทะเลทรายสุดลูกหูลูกตาแล้ว ยังมองเห็นตัวเมือง Ica ที่อยู่ข้างๆด้วย

10842265_789821977752659_8400679931554763043_o

ทะเลสาบกลางโอเอซิส สงบร่มเย็นอย่างไม่น่าเชื่อ
มีต้นปาล์ม และไม้น้ำขึ้นอยู่เต็มไปหมด :)

10953410_790703507664506_3752547349273508213_o

เบื่อทะเลทรายแล้ว ได้เวลาย้ายเมือง :D

นั่งรถต่อมาไม่นานถึงเมืองนาซคา เมืองมรดกโลกอีกเมืองของเปรู พื้นที่บริเวณนี้มีภาพวาดโบราณที่เรียกว่าเส้นนาซคา บ้างเป็นรูปเรขาคณิต บ้างเป็นรูปสัตว์ บ้างเป็นรูปคน ซึ่งถูกวาดขึ้นเมื่อ 1,500 ปีที่แล้ว

10955548_791182727616584_3829915120977967635_o

เส้นนาซคา สร้างขึ้นเพื่อให้มองจากท้องฟ้า ต้องนั่งเครื่องบินเท่านั้นถึงจะเห็น ทำให้สงสัยกันว่าสร้างขึ้นมาทำไม ทั้งที่สมัยก่อนไม่มีเครื่องบิน นักโบราณคดีบางคนบอกว่าเพื่อใช้เป็นปฏิทินดูดาว บ้างบอกว่าเพื่อบูชาเทพเจ้า บ้างเชื่อว่าเส้นนาซคาเหล่านี้มนุษย์ไม่ได้วาดแต่เป็นมนุษย์ต่างดาว :O

ลายเส้นหยึกยือในรูปนี้เป็นรูปต้นไม้

1396837_791198607614996_8181966656676874939_o

ใครอยากเห็นใกล้ๆ มีหอดูเส้นนาซคาที่ตั้งขึ้นมาโดดๆ มีคนเฝ้าอยู่คน เราแวะตั้งแต่ก่อนเข้าเมือง บอกคนขับว่าขอลงรถบัสที่นี่ แล้วค่อยโบกรถบัสคันต่อไปเข้าเมือง  มีรถผ่านทุกครึ่งชั่วโมง

10495337_791219557612901_1023581427064163551_o

นั่งรถบัสกลางคืนจากนาซคาไปคุชโค เมืองหน้าด่านเพื่อไปมาชูปิกชู ระหว่างทางถนนพัง รอเจ้าหน้าที่ซ่อมไปหนึ่งวันเต็ม กินนอนบนรถ โชคดีที่มีของกินติดกระเป๋าตลอด ไม่งั้นแย่

พอถึงคุชโคเราหาที่พักนอนทันที จะได้ปรับสภาพร่างกาย เพราะเมืองนี้อยู่สูงประมาณ 3400 ม. คิดว่านอนสักตื่นคงโอเค แต่ก็ไม่รอด อ้วกไม่หยุด กินน้ำเปล่าก็อ้วก สรุปนอนเฉยๆอยู่สองวัน วันที่สามเลยตัดสินใจลงไปมาชูปิกชู เพราะเมืองนั้นอยู่ต่ำกว่าคุชโค

10710370_791407300927460_5884306359412922676_o

วิธีไปมาชูปิกชูมีหลายแบบ ง่ายสุดคือนั่งรถไฟไปถึงเลย ถ้าใครอยาก trek ก็ไปเส้น inca trial เดินเลาะเขา 4 วัน สองหมื่นและต้องจองล่วงหน้า เห็นราคาแล้วลาก่อน เหนื่อยไม่ว่าแต่อย่าแพง :P

แน่นอนว่าเราเลือกวิธีที่ถูกสุด คือนั่งรถตู้ไปลงทางเข้าอุทยาน แล้วเดินตามทางรถไฟไปจนถึง aguas calientes หมู่บ้านที่อยู่ตรงทางขึ้นมาชูปิกชู ซึ่งทุกคนต้องมาแวะที่นี่เพื่อซื้อตั๋วเข้ามาชูปิกชู

10860963_791440314257492_4956390485187060021_o

aguas calientes เป็นหมู่บ้านที่มีทุกอย่าง ธนาคาร ร้านค้า บาร์ โรงแรม ลึกเข้ามาในป่าตั้งไกลนึกว่าจะดิบๆหน่อย แต่ไม่เลย สะดวกสบายแสงสีพร้อม

ซื้อตั๋วเข้ามาชูปิกชู 700 บาท ราคานักเรียนลดครึ่งนึง :) ได้ตั๋วแล้วก็นอนพักที่นี่หนึ่งคืน ที่นี่สูง 2400 ม. อาการแพ้ความสูงไม่มีแล้ว เลยคิดว่าตื่นมาจะเดินขึ้นมาชูปิกชูเอง จะได้ไม่ต้องเสียค่ารถบัส

10608229_791636380904552_7978014061630386754_o

ถึงแล้ว มาชูปิกชู :)

10857396_791636974237826_7088166148076734496_o

มาชูปิกชูอยู่สูงมาก ไม่รู้ขนหินขึ้นมาสร้างกันยังไง ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์กันบนนี้ มีระบบน้ำด้วย ในวันสุดท้ายของฤดูร้อนและฤดูหนาวดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ตรงกลางหน้าต่างพอดี โอ้ ล้ำ

ตัวอัลปาก้าก็กินนอนอยู่บนนี้หมือนกัน ดูหุ่นซะก่อน : D

10945890_792243677510489_8906022243722706478_o

แดดจ้าอยู่ดีๆ ฝนก็ตกหนัก หมอกลงมองไม่เห็นอะไรเลย อยู่ต่อไม่ไหว ถ้าก้าวพลาดอาจตกเขาตายอยู่ที่นี่ได้ รีบเดินกลับลงมา แต่พอเห็นทางลงเขาแล้วคงรีบไม่ได้ เพราะจากขั้นบันไดมันกลายเป็นน้ำตก!

ฮือออออ เดินไปด่าตัวเองไป ทำไมไม่นั่งรถวะ! แต่ก็มาขนาดนี้แล้ว ตกมาเหอะยังไงก็ได้ ขอให้รองเท้าอย่าพังเป็นพอ

10945913_792601990807991_5539379783038177958_o

ลงจากเขามา เดินตามทางรถไฟต่อ รถไฟมาทีต้องหลบให้ที แซงเราไปทุกขบวน ฮ่าๆ แต่ข้อดีของการเดินก็คือเราสามารถจะหยุดตรงไหนก็ได้ นานแค่ไหนก็ได้ เพราะถ้าผ่านวิวดีๆ เราคงจะอยากนั่งมองมันนานๆ

10608760_792611700807020_8511160884217761779_o

กลับมาเมืองคุชโค เดินในเมืองเก็บมิวเซียมและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ก่อนออกจากเมืองแวะไปทำวีซ่าเข้าโบลิเวีย ถึงปุ้๊ป เจ้าหน้าที่ยังไม่ทันอ่านชื่อเราด้วยซ้ำ เอาสมุดไปปั้มวีซ่ามาให้แล้ว เร็วจนไม่รู้ว่า 2 นาที หรือ 3 นาที เฮ้ย ง่ายไปมั้ย!

เกือบลืม คนเมืองนี้น่ารักมาก :)

10960028_792635087471348_5488845916589931433_o

10960141_792638464137677_4084342679869119572_o

นั่งรถต่อมาเมืองปูโน่ วิ่งมาไม่ถึงชั่วโมง รถพัง อืม ต้องรอโบกรถคันถัดไป เยี่ยมไปเลย! พอมาถึงฝนตก ตก และตกไม่หยุด มาเมืองนี้ตั้งใจว่าจะไปดูเกาะลอยน้ำ แต่ฝนก็ตกอยู่อย่างนั้น รออยู่มาสามวัน เลยไปดูทั้งฝนตกก็ได้ ฮือ

10257563_793020494099474_2395535909096048262_o

เกาะลอยน้ำที่เราอยากไปนี้ชื่อว่า uros ทำจากฟางของต้น totora(คล้ายๆต้นกก) ชาวอูรอสสร้างมาเพื่อหนีชาวอินคาสมัยรบกัน ซึ่งชาวอินคาถือว่าพวกอูรอสเป็นชนเผ่าเร่ร่อนไร้อารยธรรม แต่ตอนที่สเปนมาตีเปรู ชนเผ่าเดียวที่อยู่รอดก็คือ ชนเผ่าอูรอสนี่แหละ

สิ่งที่คาดหวัง ชาวอูรอสใส่เสื้อสีสันสดใสออกมารอรับ
แต่นี่คือสิ่งที่ได้เจอ :’)

10914722_792814797453377_4278485169508289330_o

ลาฝนตกหนักจากเมืองปูโน่ นั่งรถเลาะริมทะเลสาบติติกากา อยู่ๆคนขับก็จอดรถ และเดินขึ้นมาไล่ให้ทุกคนลงจากรถ พร้อมบอกให้ถือพาสปอร์ทลงไปด้วย..

ถึงชายแดนแล้วสินะ
ลาก่อนประเทศเปรู ขอบคุณสำหรับความทรงจำดีๆ

10960353_792846974116826_8423865219640936132_o

สุดท้ายนี้ เปรูเป็นประเทศที่ค่าครองชีพถูก ค่ารถค่าที่พักส่วนใหญ่ราคาหลักร้อยหมด เราบินจากเมกาไปเปรูค่าตั๋วเลยถูก ส่วนค่าตั๋วจากไทยอาจจะแพงหน่อย แต่ต้องไปนะ เมืองโบราณต่างๆ วัฒนธรรมชนเผ่าอินคา ธรรมชาติหลากหลาย คือถูกและดีจริงๆ วีซ่าก็ฟรีอีก :D


รายละเอียดค่าใช้จ่ายดูได้ที่นี่   ->  Peru Budget

1 Comment

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s